Medical Device Standards
ระบบบริหารคุณภาพสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
มาตรฐานระบบบริหารคุณภาพสำหรับเครื่องมือแพทย์ เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันมีผู้ประกอบการให้ความสำคัญและประยุกต์ใช้ ตลอดจนขอการรับรองระบบมาตรฐานนี้มากขึ้น เน้นการบริหารจัดการระบบคุณภาพ สามารถประยุกต์ใช้ได้ตลอดห่วงโซ่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ เช่นผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ ผู้ผลิตวัตถุดิบเครื่องมือแพทย์ Medical Grade การให้บริการซอฟท์แวร์เครื่องมือแพทย์ ก็สามารถประยุกต์ใช้และขอการรับรองได้
ข้อมูลเพิ่มเติมการประยุกต์ใช้ ISO13485 Click Here..
2. MDSAP -Medical Device Single Audit Program
MDSAP คือ โปรแกรมการตรวจรับรองระบบบริหารคุณภาพเครื่องมือแพทย์ในครั้งเดียว โดยความร่วมมือกัน 5 ประเทศ International consortium of countries ซึ่งได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศบราซิล ประเทศแคนาดา ประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
มีแนวทางการประยุกต์ใช้แบบบูรณาการคือควบรวมได้ทั้งระบบบริหารคุณภาพและกฎระเบียบข้อบังคับจากหน่วยงานกำกับดูแลของ 5 ประเทศ
3. GMP medical Device
GMP - Good Manufacturing Practice โดยชื่อได้ระบุขอบเขตไว้แล้ว ผู้ที่เหมาะสมในการประยุกต์ใช้ คือ ผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกห่วงโซ่ของการผลิตและการบริการเครื่องมือแพทย์ เช่น กระบวนการบรรจุใหม่ (Re-packing) กระบวนการประกอบขึ้นรูปเครื่องมือแพทย์ (Assembling) ก็สามารถประยุกต์ใช้ข้อกำหนด GMP ได้เช่นกัน
4. GDP (Good Distributor Practice)
หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการกระจายเครื่องมือแพทย์ คือ การปฏิบัติการกระจายสินค้า หรือรวมถึงการจัดจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ โดยเป็นแนวทางการปฏิบัติ เช่น การจัดการอาคารประกอบการ คลังสินค้า การจัดเก็บ ยานพาหนะและอุปกรณ์ ภาชนะเพื่อการขนส่งสินค้าและการแสดงฉลากปิดกำกับการขนส่ง และการจัดส่ง เป็นต้น
Regulatory Requirements : GDPMD
หมวด 1 องค์กร ระบบการจัดการ และการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
หมวด 2 การบริหารทรัพยากร
หมวด 3 ห่วงโซ่อุปทานและข้อกำหนดเฉพาะของเครื่องมือแพทย์
หมวด 4 การตรวจติดตามและการเฝ้าระวัง
สำหรับข้อกำหนด GDP สามารถให้ยกเว้นหรือการไม่ประยุกต์ข้อกำหนดที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่มีกิจกรรมนั้นๆ ได้เช่นเดียวกับ ISO 13485 หรือ ISO 9001 และโดยโครงสร้างข้อกำหนดมีแนวทางเช่นเดียวกับ ISO13485 และ ISO9001 ดังนั้นผู้ประกอบการจึงประยุกต์ใช้ร่วมกันได้ไม่ยุ่งยาก
*การขอการรับรอง GDPMD ต้องยื่นขอการประเมินเบื้องต้นจาก หน่วยงานกำกับดูแลที่ได้รับมอบหมายก่อน
5. CSDT (Common Submission Dossier Template)
การจัดทำและการขึ้นทะเบียนเอกสารผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ ที่มีความเสี่ยงในระดับ 2, 3,4 และผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ตามประกาศจากหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อให้ยื่นยันประสิทธิภาพ และความปลอดภัยผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ โดยมีข้อกำหนดที่ต้องดำเนินการ CSDT และสอดคล้องตามประกาศ คือ
- Executive Summary บทสรุปผู้บริหาร โดยอธิบายภาพรวมของบริษัท และผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ยื่น CSDT File
- Essential Principle-EP หลักการสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยและสมรรถนะการทำงานของเครื่องมือแพทย์ รวมถึงต้องแสดงความสอดคล้อง (Conformity) เช่น แสดงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ (Device Description) มาตรฐานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัย (Harmonized Standards and Regulations) สถานที่ผลิตสอดคล้องมาตรฐานสากล (หรืออย่างน้อยตามมาตรฐาน GMP-Good Manufacturing Practice) เช่น ISO 13485 เป็นต้น
- Device Description รายละเอียดผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ เช่น ลักษณะทั่วไปและหลักการทำงาน ข้อบ่งใช้ รายละเอียดและคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ผลิตหรือเป็นส่วนประกอบของเครื่องมือแพทย์ (Raw Materials)
- Design verification and validation การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ การทดสอบและการทวนสอบความถูกต้องของเครื่องมือแพทย์ 9. Verification and Validation เอกสารสรุปการทวนสอบและการตรวจสอบความถูกต้องของการออกแบบ เช่น Biocompatibility ตามมาตรฐาน ISO 10993, การจัดการบริหารความเสี่ยง โดยอ้างอิง ISO 14971, IEC60601-1 ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ไฟฟ้าหรือมีกำลัง Verification and Validation เอกสารสรุปการทวนสอบและการตรวจสอบความถูกต้องของการออกแบบ เช่น Biocompatibility ตามมาตรฐาน ISO 10993, การจัดการบริหารความเสี่ยง โดยอ้างอิง ISO 14971, IEC60601-1 ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ไฟฟ้าหรือมีกำลัง
- Labelling การแสดงข้อมูลของผลิตภัณฑ์บนฉลากเครื่องมือแพทย์ บรรจุภัณฑ์และรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการขนส่ง สอดคล้องตามกฎหมายการประกาศจาก อย. และประกาศกฎหมายข้อบังคับของแต่ละผลิตภัณฑ์
- Risk Management /Risk Analysis การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ การประเมิน การควบคุม และสรปุภาพรวมความเสี่ยง ตาม ISO14971
- Manufacturing information แสดงข้อมูลและกระบวนการผลิต
- วิธีการทำลาย การทำให้สิ้นสภาพ และการขจัดของเสียที่เกิดขึ้นภายหลังการใช้ (Disposal)
ข้อบังคับใช้นี้ เป็นส่วนหนึ่งของระบบบริหารคุณภาพ รวมถึงความปลอดภัย ซึ่งสามารถปฏิบัติใช้แบบควบรวม หรือ แบบบูรณาการได้ (Integrated Management System) ในเชิงของการให้คำปรึกษาเช่นเดียวกัน สามารถให้คำปรึกษาระบบ ISO 13485, GMP และการทำ CSDT File การศึกษาข้อกำหนด และการพัฒนาระบบไปพร้อมในครั้งเดียวกัน
Q Time Consulting Services :-
- จัดทำเอกสาร Technical Document file / CSDT File
- อบรมข้อกำหนดและแนวทางการจัดทำ Technical File
- ISO14971 Risk Management Training
- Clinical Evaluation Plan and Report (CER)
- ISO13485 & GMPMD consulting
สอบถามรายละเอียดและวางแผนการพัฒนาระบบที่ @qtimeconsult, info@qtimeconsult.com