Blog

Feed Fraud Prevention

Feed Fraud
การป้องกันการฉ้อโกงและการปกป้องอาหารสัตว์

ข้อมูลเบื้องต้นอาหารสัตว์ 

ในบทความนี้ชวนคุยเรื่อง อาหารสัตว์ หรือ Animal Feed หรือ Feed  ซึ่งอาหารสัตว์ คือ

 (1) วัตถุที่มุ่งหมายเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ โดยการให้กิน ดื่ม เลีย หรือ นำเข้าสู่ร่างการสัตว์ โดยวิธีการใดๆ หรือ 

(2) วัตถุที่มุ่งหมายเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์  

โดยในที่นี้ ขอพูดถึงอาหารสัตว์  ที่ใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์ที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารสำหรับคนบริโภคได้  เช่นอาหารกุ้ง อาหารสำหรับหมู  อาหารวัว เป็นต้น  ไม่ใช้อาหารสัตว์เลี้ยง (Pet Feed)   เช่นอาหารสุนัข      ซึ่งสำหรับอาหารสัตว์จัดเป็นห่วงโซ่อาหาร (Food Supply Chain)   จาก Farm to Fork  ดังนั้นอาหารที่จะนำไปเป็นอาหารสัตว์เหล่านี้ จึงต้องมีความปลอดภัยสูงด้วยเช่นกัน   หากเป็นอาหารที่ปลอมปนจากวัตถุดิบหรือวิธิการผลิตในขั้นตอนที่ไม่เหมาะสม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนหรือผู้บริโภค   ดังนั้น  ผู้ผลิตอาหารสัตว์จึงต้องศึกษา วิเคราะห์ และหาแนวทางป้องกัน  ในเรื่องความเสี่ยง และอีกด้านหนึ่งของความเสี่ยง คือ กลโกงหรือการฉ้อโกง  การถูกโจมตีจากช่องโหว่หรือจุดอ่อนขาดการเฝ้าระวังจากกระบวนการปฏิบัติการของบริษัทตลอดห่วงโซ่  โดยมีแรงจูงใจจากหลากหลายเหตุผล     

ในการผลิตอาหารสัตว์หรือส่วนผสมอาหารสัตว์  ผู้ผลิตต้องดำเนินการควบคุมกระบวนการผลิตตามมาตรฐาน GMP  สอดคล้องตามกฎหมายกรมปศุสัตว์และกรมประมง   หรือมาตรฐานของแต่ประเทศ รวมถึงมาตรฐาน FAMI QS ตามกฎหมายของยุโรป   ทั้งนี้เพื่อการลดและควบคุมการปนเปื้อนตลอดกระบวนการผลิต    นอกจาก GMP ผู้ผลิตยังต้องจัดทำการวิเคราะห์และควบคุมจุดวิกฤต ตามแนวทาง HACCP เพื่อควบคุมและเฝ้าระวังอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้น  ซึ่งอันตรายนี้เป็นอันตรายในรูปแบบที่ไม่ได้ตั้งใจ  หรือไม่มีเจตนาให้เกิดขึ้น แต่อาจเกิดจากความประมาณหรือขาดการควบคุมอย่างสม่ำเสมอ  ด้วยเหตุผลใดก็ตามผู้ผลิตต้องติดตามและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดความเสี่ยงจากความไม่ตั้งใจดังกล่าว 

แต่สำหรับอีกอันตรายหนึ่งคือ เกิดจากความตั้งใจ เจตนา จงใจให้เกิดขึ้น  โดยมีแรงจูงจากหลากหลายด้าน  เช่น แรงจูงใจด้านเศรษฐกิจ การลดต้นทุนการผลิตและสินค้า  ในประเด็นการฉ้อโกง และการถูกโจมตีนี้ ที่รู้จักใน เรื่อง Feed Fraud Prevention and Defense

ขอนำผัง Food Supply Chain (Refer to PAS 96:2017)  จะเห็นได้ว่า Animal Food หรืออาหารที่สัตว์บริโภคอยู่ในห่วงโซ่ต้นๆ ที่ของ Food Supply Chain  

PAS96 flow

 แหล่งที่มา PAS 96:2017 

สำหรับ Feed Fraud Prevention คือ อันตรายหรือความเสี่ยงที่มาในรูปแบบที่ตั้งใจ จงใจ เจตนาให้เกิดที่ผู้ผลิตต้องวิเคราะห์ และกำหนดแนวทางในการป้องกันการปลอมแปลง การเปลี่ยนทดแทน  การเจือจาง การลดเกรด สเปก  การปกปิด หรือบิดเบื้อนข้อมูลจากอาหารสัตว์ ที่อาจจะเกิดขึ้น   โดยมีแรงจูงใจให้เกิด Feed Fraud เป็นเหตุผลที่มาจากเรื่อง ผลกำไร  ได้ราคาถูก  การแข่งขันทางการตลาดสูง โดยไม่สอดคล้องกับการต้นทุนราคาของผลิตภัณฑ์   ความยากที่จะตรวจจับการปลอมปนหรือการทดแทนนี้ได้

รูปแบบการใช้กลโกงในอาหารสัตว์   มีรูปแบบให้หลากหลายรูปแบบ คือ การเจือจาง  การทดแทน  การปกปิด   การแสดงฉลากผิด   การเติม ส่วนผสมที่ไม่ได้รับอนุญาต   การตลาดสีเทา  และการปลอม

r1

โดยการป้องกันการฉ้อโกง และการช่องโหว่  มีขั้นตอนการประเมินและการบริหารอย่างเป็นระบบ คือ

Feed Fraud Flow

VACCP Vulnerability assessment:

การวิเคราะห์และควบคุมจุดวิกฤตที่เกิดจากช่องโหว่ของกระบวนการภายในองค์กรที่ส่งผลกระทบและก่อให้เกิดการฉ้อโกงได้ 

แนวทางการควบคุมการฉ้อโกงอาหารสัตว์

  • CoA หรือ ใบรายงานรับรองการวิเคราะห์จากผู้ขายวัตถุดิบ
  • การตรวจสอบ ตลอดห่วงโซ่อาหารสัตว์ (Supply chain)
  • การจัดทำแผนตรวจสอบวัตถุดิบ
  • การเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่ เช่น ผู้ขายสำรอง หรือ จัดการห่วงโซ่ให้สั้นกว่าเดิม

TACCP-Threat Assessment Critical Control Point  

TACCP การวิเคราะห์และควบคุมจุดวิกฤตที่เกิดจากการโจมตีหรือภัยคุกคาม  รูปแบบของภัยคุกคาม (Threat)  คือ

  • การปลอมปนที่มีแรงจูงใจจากเศรษฐกิจ
  • การปนเปื้อนที่เป็นอันตราย
  • กรรโชก (Extortion)
  • การก่อการร้าย การจารกรรม
  • การปลอมแปลง (Counterfeiting)
  • การโจรกรรมทางไซเบอร์ (Cyber crime)

TACCP  มีวัตถุประสงค์เพื่อ ลดโอกาสและความรุนแรงจากภัยคุกคามในช่องทางต่างๆ โดยมีคำถามที่นำมาประยุกต์ใช้ได้  คือ  

  • ใครคือผู้ที่ต้องการโจมตีองค์กร?
  • โจมตีได้อย่างไร?
  • จุดอ่อนของเราอยู่ที่ตรงไหน ?
  • และเราจะสามารถหยุดการโจมตีนี้ได้อย่างไร?

ขั้นตอนการจัดการ TACCP 

  • จัดตั้งทิม TACCP
  • ประเมินข้อมูลที่มี
  • การบ่งชี้ภัยคุกคามและการโจมตีต่อองค์กร
  • การบ่งชี้ภัยคุกคามต่อกระบวนการ
  • การบ่งชี้ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์
  • กำหหนดบุคลากร และช่องโหว่ของกระบวนการ
  • พิจารณาผลกระทบของภัยคุกคาม
  • บ่งขี้จุดที่ก่อความเสี่ยงจากภัยคุกคาม
  • กำหนดวิธีการควบคุม
  • ประเมินโอกาส ผลกระทบ
  • บ่งชี้การดำเนินการ
  • ปฏิบัติใช้วิธีการควบคุม
  • การติดตามประเด็นความเสี่ยง

ทั้งหมดนี้ผู้ผลิตต้องแสดงความมุ่งมั่น ตั้งใจป้องกันและปกป้องทุกวิธีทางที่ไม่ให้เกิดการฉ้อโกงและการคุกคาม ต่อผลิตภัณฑ์ตลอดกระบวนการของบริษัท   หากผู้ผลิตสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงเหล่านี้ได้  ผลลัพธ์ที่ดีจะเกิดกับบริษัทเอง ในเรื่องความน่าเชื่อถือ ต่อบริษัทและแบรนด์สินค้า  สามารถต่อยอด และเกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการที่ดีต่อไป ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 

Note :

TACCP: the combined activities of threat assessment and analysis and critical control points definition

Threat assessment: Activities to understand the exposure to threats (as an act of terror) in order to define and implement activities to reduce or mitigate the threats. Traffic flow control: Activity to influence the flow of goods, people, vehicles, etc. with the objective to mitigate or reduce to an acceptable level the feed defence threats.

VACCP: the combine activities of vulnerability assessment and analysis and critical control points definition.

Vulnerability assessment: Activities to understand the exposure to vulnerabilities (as an act of feed fraud) in order to define and implement activities to reduce or mitigate the vulnerabilities.

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

PAS 96:2017  Guide to protecting and defending food and drink from deliberate attack

Q Time Consulting เป็นทีมที่ปรึกษา ที่มีประสบการณ์มายาวนาน ให้บริการทั้งการอบรม การให้คำปรึกษาและโค้ชชิ่ง ด้วยเทคนิคและวิธีการที่นำประยุกต์ใช้งานได้จริง

Contacts

  info@qtimeconsult.com

  +662 965 5181, 081 713 3450, 089 485 1991

   +662 965 5182

   68/858 ตำบล บางกระสอ อำเภอ เมืองนนทบุรี จังหวัด นนทบุรี 11000